เรื่องบ้านไม่กั๊ก กับนครทอง

เรื่องน่ารู้ ก่อนตัดสินใจกู้ร่วมซื้อบ้าน ทำเลบางปู

เรื่องน่ารู้ ก่อนตัดสินใจกู้ร่วมซื้อบ้าน ทำเลบางปู

การตัดสินใจซื้อบ้านบางปูเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง แต่ก็เป็นสิ่งที่สร้างความมั่นคงให้กับชีวิต หลาย ๆ คนจึงทำงานหนักเพื่อให้ได้บ้านหลังแรก โดยเฉพาะผู้ที่กำลังสร้างครอบครัว อย่าง คู่หนุ่มสาวที่เพิ่งแต่งงาน หรือมีการวางแผนอนาคตร่วมกัน จำเป็นจะต้องมีบ้านเพื่อการตั้งหลักปักฐานเป็นอย่างแรก ก่อนจะพัฒนาคุณภาพชีวิตในขั้นต่อไป 

ทั้งนี้ การหาต้นทุนสำหรับซื้อบ้านสามารถขอสินเชื่อเงินกู้จากธนาคารต่าง ๆ ได้ สำหรับคู่รักนั้นมีเงื่อนไขพิเศษที่เหมาะ คือ การกู้ร่วม จะช่วยให้การขอสินเชื่อเป็นไปได้ง่ายขึ้น สำหรับใครที่ยังสงสัยเกี่ยวกับการกู้ร่วม วันนี้ นครทอง ได้รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการกู้ร่วมซื้อบ้าน ทำเลบางปู มาให้ทุกคนได้ศึกษากันก่อน รายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้าง เราไปหาคำตอบกัน

เผยคำตอบ! ผู้กู้มือใหม่ต้องรู้ การกู้ร่วมซื้อบ้านควรรู้อะไรบ้าง

  • การกู้ร่วมคืออะไร ต่างจากกู้ปกติอย่างไร

การกู้สินเชื่อบ้านจากธนาคาร เป็นธุรกรรมที่มีการดำเนินการอย่างแพร่หลาย ซึ่งความหมายแบบเข้าใจง่าย คือ การขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำเงินก้อนใหญ่มาใช้ในการซื้อหรือสร้างบ้าน โดยผู้กู้ต้องทำการผ่อนจ่ายในภายหลังให้ครบจำนวนเงิน ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามเงื่อนไข พร้อมกับจ่ายอัตราดอกเบี้ยให้กับธนาคาร 

 

โดยธนาคารจะพิจารณาจากอาชีพการทำงาน ภาระหนี้สิน และพฤติกรรมทางการเงิน เพื่อดูว่าผู้กู้มีความสามารถในการจ่ายคืนหรือไม่ ด้วยเหตุนี้ธนาคารจึงไม่สามารถอนุมัติให้ผู้กู้ได้ทุกราย แต่จะอนุมัติให้กับผู้ที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขเท่านั้น ซึ่งการกู้ร่วมก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ธนาคารจะอนุมัติเงินกู้ได้ง่ายขึ้น

 

การกู้ร่วมซื้อบ้าน คือ การมีผู้ขอสินเชื่อ 2-3 คนที่มีวัตถุประสงค์ในการขอกู้เป็นสินทรัพย์เดียวกัน โดยทางธนาคารจะพิจารณาจากคุณสมบัติของผู้กู้ร่วม และมองว่าเป็นเงินก้อนเดียวกัน ดังนั้น จึงมีการรวมรายได้ ภาระหนี้สินต่าง ๆ ของผู้กู้ร่วมทุกคน และตัดสินใจอนุมัติเงินกู้ ซึ่งข้อแตกต่างจากการกู้ทั่วไป คือ การกู้ร่วมจะได้วงเงินกู้สูงกว่า และมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 

  • ผู้ที่กู้ร่วมกันได้มีใครบ้าง

เงื่อนไขที่สำคัญสำหรับการกู้ร่วม คือ ผู้ที่จะกระทำการร่วมกันได้ต้องเป็นผู้มีสายเลือดเดียวกัน หรือเป็นคู่สมรสกัน โดยต้องมีหลักฐานยืนยันดังต่อไปนี้

1. พ่อแม่ หรือเครือญาติ

การซื้อบ้านสามารถกู้ร่วมกันกับพ่อแม่ได้ เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่ตรวจสอบได้ง่ายสุด โดยยื่นใบสูติบัตรเพื่อยืนยันความเป็นพ่อเป็นแม่ได้ ทั้งนี้การกู้ร่วมกับเครือญาติก็สามารถทำได้
เช่น กู้ร่วมผู้ที่มีสายโลหิตเดียวกัน โดยหลักฐานอาจเป็นสำเนาทะเบียนบ้าน (ในกรณีที่อาศัยอยู่ร่วมกัน) หรือหากนามสกุลไม่เหมือนกันก็ต้องหาหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าเป็นเครือญาติกันโดยสายเลือดอย่างแท้จริง

2. พี่น้อง

พี่น้องสามารถตรวจสอบได้จากทะเบียนบ้าน และหลักฐานต่าง ๆ จากพ่อแม่ ทั้งนี้หากเป็นพี่น้องคนละพ่อ หรือคนละแม่สามารถกู้ร่วมกันได้ แต่ต้องมีหลักฐานมายืนยัน เช่น ใบสูติบัตรที่แสดงชื่อพ่อ หรือชื่อแม่ที่เป็นคนเดียวกัน

3. คู่สมรส 

บ้าน เป็นหนึ่งในสินทรัพย์สำคัญสำหรับคู่สมรส เนื่องจากต้องใช้เป็นเรือนหอ และสร้างครอบครัวในอนาคต ทั้งนี้คู่สมรสต้องอยู่ในบ้านหลังเดียวกันอย่างแท้จริงจึงจะขอกู้ร่วมได้ 

 

สำหรับคู่ที่มีการจดทะเบียนสมรส ให้นำทะเบียนสมรสมาเป็นหลักฐานในการยื่นกู้ และคู่ที่ไม่มีการจดทะเบียนสมรสก็ขอกู้ร่วมได้เช่นกัน แต่ต้องมีหลักฐาน เช่น รูปถ่ายวันแต่งงาน หรือใบสูติบัตรของลูก เป็นต้น

สำหรับคู่รักที่ยังไม่ได้แต่งงานจะไม่สามารถขอกู้ร่วมกันได้ เว้นแต่มีการหมั้น หรือจัดเตรียมงานแต่งงานไว้ จึงจะได้รับพิจารณาจากสถาบันการเงิน

  • ข้อดีของการกู้ร่วมคืออะไร ?

การกู้ร่วมมีข้อดีมากกว่าการกู้คนเดียว เนื่องจาก ไม่ต้องแบกภาระหนี้สินคนเดียว พูดให้เข้าใจง่ายก็คือ ผู้กู้ร่วมจะต้องช่วยกันหาเงินมาผ่อนจ่ายทางธนาคาร ซึ่งการหาเงินจากสองทางเป็นสิ่งที่ได้เปรียบ และไม่กดดันมากเกินไป ทั้งนี้การกู้ร่วมกันจะมีความสามารถในการผ่อนจ่ายสูงขึ้น ดังนั้นจึงขอกู้ในวงเงินที่มากขึ้นได้ 

 
ตัวอย่างเช่น นาย A มีเงินเดือน 20,000 บาท มีความสามารถในการผ่อนชำระ 8,000 บาทต่อเดือน จะขอกู้สินเชื่อบ้านได้สูงสุด 1,200,000 บาท แต่หากนาย A กู้ร่วมกับนาง B ซึ่งเป็นภรรยา และมีรายได้ 20,000 บาท ทำให้มีรายได้รวม 40,000 บาท ซึ่งสามารถขอสินเชื่อบ้านสูงสุดได้ถึง 2,400,000 บาท 

 

จะเห็นได้ว่าได้วงเงินกู้สูงขึ้นเป็นเท่าตัว นอกจากนี้ ยังได้บ้านที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยมากขึ้นตามราคา รวมถึงสามารถเบาใจเรื่องการผ่อน เพราะมีรายได้จากสองทาง อีกทั้งธนาคารยังอนุมัติได้ง่าย เพราะมองเห็นถึงความสามารถในการผ่อนจ่ายในแต่ละเดือนจากคนสองคน

 

ทั้งนี้ การกู้ร่วมก็ต้องมีความระมัดระวัง เนื่องจาก ต้องอาศัยความไว้ใจต่อกันและกัน หากมีใครคนหนึ่งไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ อีกคนต้องเข้ามารับผิดชอบ ซึ่งบางครั้งอาจเกินความสามารถจนอาจเกิดปัญหาได้ อีกทั้งยังต้องคำนึงเรื่องการแบ่งสินทรัพย์ในกรณีเกิดการแยกทาง หรือมีปัญหาที่ตกลงกันไม่ได้ จึงควรวางแผน และตรวจสอบความสามารถของผู้กู้ร่วมก่อนขอสินเชื่อ เพื่อไม่ให้เกิดภาระในภายหลัง 

  • ไม่อยากกู้ร่วมแล้ว ต้องทำอย่างไรบ้าง

อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงจุดที่ไม่สามารถร่วมทางกันได้อีกต่อไป ผู้กู้ร่วมสามารถทำการเจรจาตกลงกัน และเลือกวิธีที่ลงตัวที่สุด โดยสามารถใช้วิธีดังต่อไปนี้

1. ถอดชื่อผู้กู้

การถอดชื่อผู้กู้ต้องผ่านการพูดคุยอย่างลงตัวว่าใครจะเป็นผู้กู้ต่อ และได้กรรมสิทธิ์ของบ้านไป ทั้งนี้ต้องมีการคุยกันเรื่องเงินที่ได้ทำการผ่อนจ่ายไปแล้ว และตกลงกันให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการถอดชื่อผู้กู้ เพื่อให้ไม่เกิดความยุ่งยากเมื่อถึงขั้นตอนที่ต้องไปชี้แจงต่อสถาบันการเงิน

2. รีไฟแนนซ์

การรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่น เป็นวิธีการยกเลิกการกู้ร่วมที่ดำเนินการได้ง่าย เนื่องจาก เมื่อเปลี่ยนสถาบันการเงิน จะต้องมีการจดจำนอง และทำเงื่อนไขใหม่ จึงไม่ต้องยุ่งยากในการถอดรายชื่อผู้กู้ร่วม

3. ขายบ้าน

การขายบ้าน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับคู่ที่มีการแยกทางกัน และต้องการเริ่มชีวิตใหม่ รวมถึงเป็นการแบ่งเงินกันได้ลงตัว โดยที่ไม่ต้องวุ่นวายด้านการขอสินเชื่อใหม่ หรือถอดรายชื่อเพื่อกู้คนเดียว 

 

ทั้งหมดนี้จึงเป็นเรื่องน่ารู้ก่อนจะมีการกู้ร่วมเพื่อซื้อ บ้านบางปู จะช่วยให้หลายคนมีตัวเลือกในการพิจารณามากขึ้น โดยเฉพาะคู่รักที่กำลังมองหาความมั่นคงร่วมกัน และมีความไว้ต่อกัน ก็สามารถเลือกการกู้ร่วมเป็นช่องทางสำหรับการเริ่มต้นสร้างครอบครัวได้ และหากมีความสนใจบ้านในทำเลบางปู สามารถเยี่ยมชมโครงการบ้าน ทำเลบางปู  จาก นครทอง กรุ๊ป โดยติดต่อเราได้ที่

 

Line: @nktgroup 

โทร 087-678-9296 (นครทอง ลีฟวิ่ง)  

084-641-2666 (นครทอง โคโลนี่) 

097-1854467 (นครทอง ดิ เออเบิร์น ไวบ์)

Inbox: Nakornthong Group