เรื่องบ้านไม่กั๊ก กับนครทอง

ทำความเข้าใจ บ้านจัดสรร ต้องเสียภาษีที่ดินไหม อัปเดตปี 2025

ทำความเข้าใจ บ้านจัดสรร ต้องเสียภาษีที่ดินไหม อัปเดตปี 2025

เข้าสู่ช่วงต้นปี 2025 ซึ่งเป็นเวลาที่หลายคนต่างกุมขมับกันถ้วนหน้า เพราะเป็นช่วงที่ทุกท่าน จะต้องเสียภาษีเงินได้ ที่ผู้มีรายได้ต้องจ่ายเป็นประจำทุกปี อีกทั้งหากมีทาวน์โฮมเป็นของตัวเอง อาจต้องเสียภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง หรือภาษีที่ดินเพิ่มด้วย เพื่อให้องค์กรส่วนท้องถิ่น ได้นำเงินไปบำรุงท้องที่ต่อไปในอนาคต

 

สำหรับผู้ที่เพิ่งซื้อบ้านไปหมาด ๆ หรือมีชื่อเป็นเจ้าของบ้าน คงจะมีข้อสงสัยไม่น้อยว่า "บ้านจัดสรร ต้องเสียภาษีที่ดินหรือไม่" และราคาบ้านอยู่ที่เท่าไหร่ ถึงจะได้รับการยกเว้น เหมือนกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในบทความนี้ นครทอง ได้รวบรวมสาระน่ารู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินมาไว้ให้แล้ว เพื่อให้เจ้าของทาวน์โฮมบางบ่อได้ทราบ จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง เราไปดูกัน

เรื่องต้องรู้ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คืออะไร 

ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่าภาษีที่ดิน เป็นการจัดเก็บภาษีตามมูลค่าที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่มีผู้ครอบครอง โดยองค์กรส่วนท้องถิ่น สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร และศาลาว่าการเมืองพัทยา จะเป็นผู้จัดเก็บ เพื่อนำเงินที่ได้ไปบำรุงท้องที่ 

 

ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนใช้ประโยชน์ที่ดิน และไม่ปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2566 ได้มีการแบ่งประเภทของการจัดเก็บภาษีออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

 
  • ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม: ให้เก็บภาษีไม่เกิน 0.15% ของมูลค่าที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง
  • ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย: หากที่ดินมูลค่า 0-50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนที่ดินที่มีมูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องเสียภาษีในอัตราตั้งแต่ 0.02-0.1% ของมูลค่าที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง
  • ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม: เช่น พาณิชยกรรมอุตสาหกรรม ร้านอาหาร โรงแรม สปา ออฟฟิศ และสำนักงาน ให้เก็บภาษีไม่เกิน 1.2% ของมูลค่าที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง
  • ที่ดินรกร้างว่างเปล่า: เป็นที่ดินที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ จะต้องเสียภาษีที่ดินว่างเปล่าตั้งแต่ 0.3-0.7% ของมูลค่าที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง

แชร์ทริค คำนวณภาษีทาวน์โฮมบางบ่อง่าย ๆ มือใหม่เข้าใจไม่ยาก

วิธีคำนวณภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง จะใช้วิธีการคำนวณแบบขั้นบันได ตามมูลค่าของฐานภาษีในแต่ละขั้น โดยทาวน์โฮม หรือบ้านจัดสรร จะต้องคำนวณตามฐานภาษีสำหรับที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ตามสูตร “ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) X อัตราภาษี” 

 

ยกตัวอย่างเช่น นาย A ครอบครองภาษีที่ดินมูลค่า 60 ล้านบาท และมีสิ่งปลูกสร้างมูลค่า 10 ล้านบาท ซึ่งตามอัตราภาษีที่กฎหมายที่ดินมูลค่า 50-75 ล้านบาท จะมีอัตราภาษีทั้งสิ้น 0.03% สามารถคำนวณตามสูตรได้เป็น (60 ล้านบาท + 10 ล้านบาท) X 0.03% = 21,000 บาท ดังนั้น นาย A จะต้องเสียภาษีทั้งหมด 21,000 บาท

คลายข้อสงสัย ! ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง

เชื่อว่าเจ้าของบ้านคงทราบกันดีแล้วว่า เจ้าของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างทุกประเภท จำเป็นต้องเสียภาษีที่ดิน ก่อนเดือนเมษายนของทุกปี โดยสามารถตรวจสอบว่าต้องเสียภาษีหรือไม่ ผ่านทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสอบถามในช่องทางออนไลน์ของแต่ละพื้นที่

 

ซึ่งเกณฑ์การรับผิดชอบภาษีที่ดิน จะพิจารณาจากความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยอ้างอิงตามชื่อที่มีอยู่ในโฉนดที่ดิน ไม่ใช่ตามทะเบียนบ้าน สำหรับผู้ที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง และผู้ครอบครอง หรือทำประโยชน์ที่ดินที่เป็นทรัพย์สินของรัฐ

 

โดยเจ้าของ หรือผู้ครอบครองที่ดิน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีไหน จะมีหน้าที่เสียภาษีที่ดินในปีนั้นเป็นต้นไป กรณีที่มีผู้ครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 1 คนขึ้นไป ทุกคนจะต้องเสียภาษีร่วมกัน ไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง

 

​​ทั้งนี้ สำหรับใครที่ฝันอยากมีบ้านหลังแรก และกำลังมองหาทาวน์โฮมบางบ่อ ที่เดินทางสะดวก ดีไซน์สวย รายล้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ตอบโจทย์การใช้ชีวิตคนทุกรูปแบบ อย่าลืมนึกถึงนครทอง โคโลนี่ หากสนใจสามารถติดต่อมาได้ที่ Line: @nktgroup

ไขข้อข้องใจ หากเลี่ยงการจ่ายภาษีที่ดิน เจ้าของบ้านต้องเจออะไรบ้าง

หลังจากที่ได้ทราบเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นของภาษีที่ดิน และวิธีคำนวณภาษีคร่าว ๆ กันไปแล้ว คราวนี้ลองมาดูกันบ้างว่า บทลงโทษของผู้ที่เลี่ยงการจ่ายภาษีที่ดิน หรือชำระภาษีไม่ทันวันที่ 30 เมษายน ของปีนั้น ๆ จะต้องเจอกับอะไรบ้าง โดยโทษของการไม่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แบ่งเป็นระดับโทษออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • โทษปรับ

เมื่อเจ้าหน้าที่ ดำเนินการส่งเอกสารให้แก่เจ้าของบ้าน หรือผู้ครอบครองที่ดิน ในเดือนกุมภาพันธ์แล้ว หากเจ้าของบ้านชำระภาษีที่ดินไม่ครบ ตามจำนวนที่ถูกเรียกเก็บภายในเวลาที่กำหนด หรือจงใจไม่จ่ายภาษี จะต้องถูกลงโทษปรับตามกฎหมาย ดังนี้

 
  • เบี้ยปรับ 40% ของภาษีค้างชำระ ในกรณีที่จ่ายล่าช้าเกินกว่าที่หนังสือแจ้งเตือนระบุเอาไว้  
  • เบี้ยปรับ 20% ของภาษีชำระ ในกรณีชำระล่าช้า แต่ชำระภายในระยะเวลาที่แจ้งในหนังสือเตือน
  • เบี้ยปรับ 10% ของภาษีชำระ ในกรณีชำระล่าช้า แต่ชำระก่อนได้รับหนังสือแจ้งเตือน
 
  • ดอกเบี้ยเงินเพิ่ม

กรณีที่ชำระภาษีที่ดินล่าช้าในทางกฎหมาย จะมีการคิดเงินเพิ่ม ซึ่งจะคิดในอัตราดอกเบี้ย 1% ต่อเดือนของเงินภาษีค้างชำระ โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาชำระภาษี ไปจนถึงวันที่ชำระภาษี ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2566 ได้มีการกำหนดเพดานดอกเบี้ย เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าของบ้านถูกคิดเงินเพิ่ม จากจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย

  • โทษทางอาญา

ในกรณีที่ถูกตรวจสอบว่ามีการพยายามสร้างหลักฐานเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีที่ดิน อาจจะต้องถูกลงโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี หรือปรับสูงสุดไม่เกิน 40,000 บาท ซึ่งทางโทษอาญา ถือเป็นการลงโทษระดับสูงสุดของการไม่ปฏิบัติหน้าที่ ในการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

 

อย่างไรก็ตาม ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นกฎหมายใหม่ที่เพิ่งเริ่มมีการบังคับใช้ เมื่อปี พ.ศ.2562 ดังนั้น เจ้าของบ้านที่ครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินของตนเอง จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภาษีให้ถี่ถ้วน และเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หากไม่ชำระตามระยะเวลาที่กำหนด หรือหลีกเลี่ยงการชำระ จะต้องรับโทษทางกฎหมายต่อไปในอนาคต

 

สุดท้ายนี้ หากคุณกำลังมองหาทาวน์โฮมบางบ่อ ที่ตอบโจทย์ทั้งการใช้ชีวิต และทำเลที่สะดวกสบาย เหมาะกับผู้ที่ฝันอยากมีบ้านหลังแรก อย่าลืมนึกถึงโครงการนครทองโคโลนี่ เพราะเรามีทีมให้คำปรึกษา พร้อมดูแลทุกเคส ด้วยการออกแบบพื้นที่ที่ทันสมัย เดินทางสะดวก ติดถนนใหญ่ หากสนใจติดต่อได้ที่

 

Line: @nktgroup 

โทร 087-678-9296 (นครทองลีฟวิ่ง)  

084-641-2666 (นครทองโคโลนี่) 

097-1854467 (นครทอง ดิ เออเบิร์น ไวบ์)

Inbox: Nakornthong Group