LTV คืออะไร มาตรการช่วยกู้ สำหรับคนอยากมีบ้านหลังแรก
การซื้อบ้านเป็นของตัวเอง ถือเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิตเลยก็ว่าได้ เพราะกว่าจะได้บ้านในฝันมาครอบครอง ต้องผ่านกระบวนการคิด และคำนวณมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การมองหาโครงการบ้านที่ถูกใจ และการเลือกทำเลในการใช้ชีวิต รวมไปถึงเรื่องการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย เพื่อยื่นกู้ซื้อบ้านก่อนเข้าอยู่อาศัย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าหลายคนจะมองว่าการซื้อบ้านสักหลัง เป็นเรื่องที่ยาก และไกลเกินฝัน แต่ในปัจจุบันได้มีมาตรการ LTV (Loan to Value Ratio) เข้ามาช่วยให้ผู้ที่ต้องการซื้อบ้าน ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในอนาคตอีกด้วย
สำหรับผู้ที่ฝันอยากมีบ้าน และกำลังอยู่ในช่วงทำความเข้าใจเรื่องการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับบ้าน ในบทความนี้ นครทอง จะมาตอบคำถามให้กระจ่างว่า LTV คืออะไร ใครบ้างที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV รวมถึงมาตรการดังกล่าว ดีต่อผู้ที่กำลังตัดสินใจซื้อทาวน์โฮม แพรกษาอย่างไรบ้าง หากพร้อมแล้ว เราไปดูกัน
ทำความเข้าใจ LTV คืออะไร มาตรการสำคัญที่เจ้าของบ้านต้องรู้
LTV (Loan to Value Ratio) คือ อัตราส่วนที่ธนาคารสามารถให้สินเชื่อ โดยการกำหนดเงินดาวน์ขั้นต่ำของการกู้สินเชื่อใหม่ หรือสินเชื่อรีไฟแนนซ์ เพื่อควบคุมการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันทางการเงิน รวมถึงป้องกันการเก็งกำไร ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และลดความเสี่ยงในการเกิดหนี้เสีย ทั้งนี้ มาตรการ LTV ได้มีการกำหนดวงเงินของสินเชื่อในอัตราร้อยละ 80 จากวงเงินยื่นกู้ทั้งหมด ทำให้เจ้าของบ้านมีโอกาสสูงที่จะได้วงเงินประมาณ 80% ของราคาบ้านที่ยื่น โดยมีวิธีการคำนวณง่าย ๆ ผ่านสูตร
“(จำนวนเงินกู้ / มูลค่าบ้าน) x 100 = 80 ตามอัตราของ LTV”
ตัวอย่างเช่น นาย A ต้องการกู้เงินซื้อบ้านในราคา 2,000,000 บาท สามารถคิดได้เป็น 2,000,000 X 80% = 1,600,000 บาท
หมายความว่านาย A มีโอกาสได้วงเงินกู้สูงสุด 1,600,000 บาท ส่วนจำนวนเงิน 400,000 บาทที่เหลือ จะเป็นการวางเงินดาวน์
อย่างไรก็ตาม ในกรณีของการกู้ร่วม จะมีการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ร่วมทุกคน แต่ผู้กู้ร่วมต้องมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับผู้กู้หลัก ไม่ว่าจะเป็น คู่สมรส บิดามารดา และบุตร โดยทางธนาคารจะพิจารณาหนี้รวมของผู้กู้ทุกคน ต้องไม่เกินเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด
เจาะลึก ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก LTV มีใครบ้าง
หลังจากที่ทำความเข้าใจกับมาตรการ LTV กันมาแล้ว คงจะเห็นได้ว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก LTV มักจะเป็นกลุ่มคนที่คอยเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพราะเป็นกลุ่มที่มีบ้านมากกว่า 1 หลัง ทั้งนี้ มาตรการ LTV ก็ยังเป็นมาตรการที่ส่งผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้อง ในตลาดอสังหาริมทรัพย์หลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น
- ผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรก
ในกรณีที่ซื้อบ้านหลังแรก จะสามารถกู้ได้สูงสุดถึง 100% ของราคาบ้าน หากราคาบ้านไม่เกิน 10 ล้านบาท และสามารถกู้เพิ่ม เพื่อค่าตกแต่งได้อีก 10% ซึ่งเอื้อต่อคนรุ่นใหม่ หรือวัยทำงานที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง
- ผู้ที่ซื้อบ้านหลังที่ 2
สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อบ้านหลังที่ 2 มาตรการ LTV จะจำกัดให้ยื่นกู้ได้ไม่เกิน 80-90% ของราคาบ้าน และถูกกำหนดให้มีการวางเงินดาวน์ขั้นต่ำ 20% ของมูลค่าบ้าน โดยขึ้นอยู่กับว่าผู้กู้ผ่อนชำระบ้านหลังแรกมาแล้วกี่ปี และมีประวัติการผ่อนชำระที่ดีหรือไม่
- ผู้ที่ซื้อบ้านหลังที่ 3 ขึ้นไป
มาตรการ LTV ได้มีการกำหนดไว้ว่า หากใครที่ต้องการซื้อบ้านหลังที่ 3 เป็นต้นไป สามารถกู้ได้ไม่เกิน 70% ของราคาบ้าน รวมถึงวางเงินดาวน์ 30% ของราคาบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเก็งกำไรเกินตัวในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดอสังหาริมทรัพย์
- เจ้าของโครงการ
เจ้าของโครงการอสังหาริมทรัพย์ สามารถวางแผนการพัฒนาโครงการ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ซื้อได้ง่ายขึ้น เพราะมาตรการ LTV จะเข้ามาช่วยประเมินความต้องการที่อยู่อาศัย ของผู้ที่ต้องการซื้อบ้านจริง ๆ
- สถาบันการเงิน
จุดเด่นของมาตรการ LTV คือ ช่วยลดความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร หรือสถาบันทางการเงินต่าง ๆ เนื่องจาก มีการกำหนดสัดส่วนการปล่อยกู้ที่เหมาะสม ทำให้มีหลักประกันที่เพียงพอในการคุ้มครองความเสี่ยง ทั้งยังช่วยคัดกรองคุณภาพของผู้กู้ และลดโอกาสการเกิดหนี้เสียในอนาคต
ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อบ้านในทำเลสมุทรปราการ ที่คุ้มค่าทั้งในแง่ของราคา และการอยู่อาศัยในระยะยาว อย่าลืมนึกถึงนครทอง โครงการทาวน์โฮม แพรกษาทำเลคุณภาพ ที่มีให้เลือกทั้ง 3 โครงการ ได้แก่ นครทองโคโลนี่ (บางบ่อ – เมืองใหม่บางพลี), นครทองลีฟวิ่ง (บางนา – เทพารักษ์) และนครทอง ดิ เออเบิร์น ไวบ์ (แพรกษา – นิคมฯ บางปู)
3 ประโยชน์ของมาตรการ LTV สำหรับเจ้าของบ้านยุคใหม่
แม้ว่าหลายคนอาจจะรู้สึกว่า มาตรการ LTV ไม่มีความยืดหยุ่นเท่าไหร่นัก สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อบ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไป แต่ในความจริงแล้ว ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กำหนดมาตรการ LTV ขึ้นมา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการก่อหนี้เกินตัวของผู้กู้ ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยนครทอง จะมาเผย 3 ข้อดีของมาตรการ LTV ให้ทุกคนได้ทราบกัน ดังนี้
- ลดอัตรา NPL หรือหนี้เสีย
หนี้เสีย (NPL หรือ Non-Performing Loan) เป็นหนี้ที่ผิดชำระมานาน จนสถาบันการเงินมองว่ามีความเสี่ยงสูง ที่ผู้กู้จะไม่มีความสามารถในการผ่อนอีกต่อไป ทำให้มาตรการ LTV ได้เข้ามาควบคุมการปล่อยสินเชื่อ ให้เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้
ดังนั้น เมื่อผู้กู้มีความสามารถในการจัดการ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดหนี้เสีย ซึ่งจะส่งผลดีต่อประวัติของผู้กู้ ทั้งยังเป็นการเพิ่มเสถียรภาพทางการเงินของประเทศในระยะยาว
- ป้องกันการเกิดภาวะฟองสบู่แตก
ภาวะฟองสบู่แตก เป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากความพยายามเก็งกำไร เมื่อถึงจุดอิ่มตัว ราคาสินทรัพย์ลงทุนก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น มาตรการ LTV จึงเข้ามาช่วยป้องกันการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และช่วยให้ราคาบ้านสมเหตุสมผล
- เอื้อประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการกู้ซื้อบ้าน
จุดเด่นสำคัญของมาตรการ LTV คือ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ มีเสถียรภาพมากขึ้น เพราะราคาบ้านไม่ถูกปั่นจากนักเก็งกำไร หรือนักอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องการเพิ่มมูลค่าของที่อยู่อาศัยในทำเลต่าง ๆ ทำให้วัยทำงานส่วนใหญ่ สามารถซื้อบ้านได้ในราคาที่เหมาะสม
ก็จบกันไปแล้วกับสาระน่ารู้ของมาตรการ LTV เครื่องมือที่เข้ามาช่วยควบคุมการปล่อยสินเชื่อให้มีความเหมาะสม เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดอสังหาริมทรัพย์ และระบบการเงินของประเทศ ซึ่งเจ้าของบ้านหลังแรก หรือหลังที่ 2 เป็นต้นไป อย่าลืมทำความเข้าใจมาตรการดังกล่าวอย่างลึกซึ้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนทางการเงิน
สุดท้ายนี้ สำหรับใครที่กำลังมองหาโครงการทาวน์โฮม แพรกษา ที่เหมาะสมกับการเป็นบ้านหลังแรก หรือบ้านหลังถัดไป เพื่ออยู่อาศัยกับคนที่รัก นครทอง โครงการทาวน์โฮมทำเลคุณภาพ ใกล้แหล่งงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย
โดยโครงการของเรามีให้เลือกทั้ง 3 โครงการ ได้แก่ นครทองโคโลนี่ (บางบ่อ – เมืองใหม่บางพลี), นครทองลีฟวิ่ง (บางนา – เทพารักษ์) และนครทอง ดิ เออเบิร์น ไวบ์ (แพรกษา – นิคมฯ บางปู) หากสนใจ สามารถติดต่อได้ที่
Line: @nktgroup
โทร 087-678-9296 (นครทองลีฟวิ่ง)
084-641-2666 (นครทองโคโลนี่)
097-1854467 (นครทอง ดิ เออเบิร์น ไวบ์)
Inbox: Nakornthong Group