เรื่องบ้านไม่กั๊ก กับนครทอง, ไลฟ์สไตล์เรื่องบ้าน

Checklist ตรวจรับบ้านทาวน์เฮาส์ ด้วยตัวเอง

ตรวจรับบ้าน

หลังจากซื้อบ้านแล้ว “การตรวจรับบ้าน” เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะเซ็นรับมอบทาวน์เฮ้าส์ และเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เนื่องจาก การตรวจเช็กบ้านต้องใช้ความรู้ และความละเอียดรอบคอบในการตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าบ้านมีความสมบูรณ์ ไม่มีปัญหา และพร้อมเข้าอยู่ 

ซึ่งหากตัวบ้านมีปัญหา หรือข้อผิดพลาด สามารถแจ้งให้ทางโครงการ หรือผู้รับเหมาแก้ไขได้ทันที โดยบทความในวันนี้ นครทอง จะมาแนะนำวิธีตรวจรับบ้ทาวน์เฮ้าส์ด้วยตัวเอง จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้างไปชมกันเลย

เตรียมให้พร้อมก่อนตรวจรับบ้านต้องรู้อะไรบ้าง

การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนตรวจรับทาวน์เฮ้าส์บางนาด้วยตัวเอง โดยไม่ผ่านบริษัทรับตรวจบ้าน คุณจำเป็นที่จะต้องวางแผน เตรียมอุปกรณ์ และศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน ซึ่งเราได้รวบรวมมาให้อ่านเข้าใจได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนตรวจเช็กบ้าน

ตรวจสอบสัญญาการซื้อ-ขาย และเงื่อนไขต่าง ๆ ให้มั่นใจอีกครั้ง จากนั้นทำการนัดวัน และเวลาที่ต้องการเข้าไปตรวจรับทาวน์เฮ้าส์บางนากับเจ้าหน้าที่ในโครงการ โดยเจ้าของบ้านต้องเตรียมรายละเอียดของโครงการ เพื่อใช้เปรียบเทียบกับตัวบ้านจริง เช่น ขนาดพื้นที่ เฟอร์นิเจอร์ วัสดุที่ใช้ และอื่น ๆ ที่สำคัญควรไป 2 คนขึ้นไป เพราะจะได้ช่วยกันตรวจสอบได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการตรวจเช็กบ้าน ดังนี้

  1. เตรียมดินสอ ปากกา และสมุดโน๊ต เพื่อใช้จดรายละเอียดต่าง ๆ 
  2. กระดาษ Post-It เพื่อใช้มาร์กจุดต่าง ๆ ที่ต้องทำการแก้ไข
  3. ไฟฉาย เพื่อใช้ส่องในการเช็กสี และความเรียบของพื้นผิวต่าง ๆ อย่าง ผนัง กระเบื้อง ระดับฝ้าเพดาน และอื่น ๆ
  4. ตลับเมตร เพื่อใช้วัดพื้นที่ว่าตรงตามแบบบ้านที่ต้องการไหม
  5. ดินน้ำมัน ใช้สำหรับปิดรูระบายน้ำ เพื่อตรวจเช็กห้องน้ำว่ามีปัญหาการรั่วซึมหรือไม่
  6. กระจก ใช้สำหรับส่องเช็กความเรียบร้อยบริเวณขอบประตู ที่เป็นจุดอับสายตา
  7. บันได ใช้สำหรับขึ้นไปตรวจเช็กหลังคา ฝ้า เพดาน โดยอุปกรณ์นี้อาจขอยืมจากทางโครงการบ้าน
  8. เครื่องตรวจสอบเบรกเกอร์ตัดไฟรั่วไหล (ELCB Tester) หรือไขควงวัดไฟ เพื่อใช้เช็กความผิดปกติของเต้ารับ ทั้งนี้ควรศึกษาวิธีการใช้งานอย่างละเอียด หรือให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ทดสอบ เพื่อความปลอดภัย
  • ตรวจระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นการตรวจสอบว่าสวิตช์ และเต้ารับทุกจุดภายในบ้านสามารถใช้งานได้จริง เราแนะนำให้ใช้เครื่องตรวจสอบเบรกเกอร์ตัดไฟรั่วไหล (ELCB Tester) เพื่อทดสอบว่าระบบไฟภายในบ้านสามารถจ่ายไฟได้ปกติหรือไม่ และทดสอบความถูกต้องของการเดินสายไฟ สายดิน และระบบตัดไฟด้วย ที่สำคัญการใช้งานอุปกรณ์ตรวจสอบระบบไฟ คุณต้องทำการศึกษาวิธีการใช้อย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

  • ตรวจสอบระบบน้ำภายในบ้าน

ส่วนแรกให้ตรวจสอบการรั่วซึมในห้องน้ำ แรงดันของก๊อกน้ำ ฝักบัว และชักโครก เพื่อเช็กว่ามีการอุดตัน และกลิ่นไม่พึงประสงค์หรือไม่ นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบความลาดเอียงของพื้นในห้องน้ำ เพื่อตรวจดูว่าน้ำสามารถระบายลงท่อได้โดยไม่เกิดการท่วมขัง

ส่วนที่สอง ตรวจสอบระบบท่อว่ามีรอยแตกร้าว รอยรั่วซึม และมีการต่อท่อไปบ่อพักหรือไม่ ที่สำคัญห้ามลืมสังเกตว่ามีกลิ่นไม่พึงประสงค์ขณะราดน้ำลงท่อด้วยหรือไม่ และสุดท้ายส่วนที่สาม ตรวจสอบมิเตอร์น้ำว่าระหว่างที่ไม่มีการใช้น้ำ เข็มมิเตอร์ทำงานหรือไม่

  • ตรวจสอบโครงสร้าง และผนังห้อง

โครงสร้างบ้านต้องไม่มีรอยแตกร้าว และผนังบ้านควรเรียบได้ระนาบเดียวกัน ถ้าหากพบเห็นรอยแตกร้าวตามผนัง หรือโครงสร้างให้นำ Post-it มาแปะไว้ เพื่อให้ทางโครงการดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนเซ็นรับโอนบ้าน แต่ถ้าบ้านไหนต้องมีการเช็กวอลล์เปเปอร์ให้ใช้ไฟฉายส่อง เพื่อดูความเรียบเนียนของวอลล์เปเปอร์

  • ตรวจสอบพื้นบ้าน

ถ้าหากพื้นบ้านปูด้วยกระเบื้อง สามารถทดสอบได้ด้วยการเคาะกระเบื้องเพื่อฟังเสียง หากกระเบื้องแผ่นไหนเคาะแล้วมีเสียงต่างจากกระเบื้องแผ่นอื่น หรือเคาะแล้วกระเบื้องสั่น แปลว่าปูนกาวของกระเบื้องแผ่นนั้นไม่แน่นพอ นอกจากนี้ในกรณีที่ปูพื้นด้วยไม้ลามิเนต หรือพื้นไม้ต้องเรียบระนาบเท่ากัน โดยพื้นจะต้องไม่บวม และไม่โก่ง

  • ตรวจสอบเพดานบ้าน

เพดานทั้งแผ่นต้องเรียบเนียน ไม่แอ่น หรือโก่งงอ สีที่ทาต้องเรียบเนียนทั้งแผ่นไม่มีบริเวณที่สีโดดออกมา และต้องไม่เลอะคราบปูน นอกจากนี้ห้ามลืมตรวจสอบการรั่วซึมของฝ้าเพดาน พร้อมทั้งเช็กความเรียบร้อยของการเดินสายไฟด้วย

  • ตรวจสอบหลังคาบ้าน

การตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำจากหลังคา เป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญของการตรวจบ้าน โดยสังเกตจากคราบน้ำที่เพดาน หรือรอยหยดน้ำที่พื้น ถ้าหากหลังคาบ้านรั่วซึม ถือว่าเป็นข้อผิดพลาด และปัญหาใหญ่ที่แก้ค่อนข้างยาก ทั้งยังต้องตรวจสอบด้วยว่าหลังคามีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนเต็มพื้นที่ตามที่ตกลงหรือไม่

  • ตรวจสอบประตูหน้าต่าง

ควรเช็กประตู และหน้าต่างทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบานพับ กลอนประตู และวงกบ ว่าสามารถใช้งานได้ปกติ ปิดได้สนิท เลื่อนง่ายไม่ติดขัด พร้อมทั้งเช็กว่าตัวบานประตู และหน้าต่างมีการขูดกับพื้น หรือเพดานหรือไม่

  • ตรวจสอบบันได

ควรตรวจสอบบันไดว่าตัวราวถูกติดตั้งในตำแหน่งที่จับถนัด และแข็งแรงไม่โยกเยกไปมา พร้อมทั้งเช็กว่าเวลาเหยียบที่พื้นบันไดแล้วพื้นไม่ยุบลง แต่ถ้าพื้นบันไดยุบลงต้องให้โครงการแก้ทันที

  • ตรวจสอบรอบตัวบ้าน

ขั้นตอนสุดท้ายของการตรวจเช็กบ้าน คือ การตรวจสอบรอบบ้าน โดยบริเวณรอบ ๆ บ้านจะต้องไม่เป็นหลุม หรือเป็นบ่อ ในส่วนของลานจอดรถต้องไม่พบร่องรอยการทรุดตัวของพื้น นอกจากนี้ต้องตรวจสอบประตูรั้ว และโครงสร้างประตูต้องแข็งแรงทนทาน

สุดท้ายนี้ทุกคนก็ได้ทราบถึงวิธีการตรวจรับบ้านเป็นที่เรียบร้อย ทั้งนี้หากต้องการบ้านทาวน์เฮ้าส์บางนา ที่ฟังก์ชันเหมือนบ้านเดี่ยว บ้านเครือนครทอง ถือว่าตอบโจทย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการรับประกันดูแลบ้าน แม้ว่าจะโอนไปแล้ว 1 ปี ดังนั้นไม่ต้องกังวลใจเรื่องซ่อมแซมล่าช้า หรือมีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งยังมาในราคาจับต้องได้ หากสนใจเยี่ยมชมโครงการ หรือต้องการสอบถามข้อมูล ติดต่อเราได้ที่ 

Line: @nktgroup 

โทร 087-678-9296 (ลีฟวิ่ง)  

โทร 084-641-2666 (โคโลนี่) 

Inbox: Nakornthong Group